ปัจจุบัน บริการการสืบค้นข้อมูล นั้นมีความฉลาดมากขึ้นในการเข้าใจผู้ใช้งาน เมื่อพวกเขาใช้คำสืบค้นในรูปแบบของตนเอง เรียนรู้ว่าเพราะเหตุใดผู้ใช้งานห้องสมุดจึงไม่จำเป็นต้อง “ใช้ภาษาที่เป็นทางการ” เพื่อรับผลการสืบค้นในระดับผู้เชี่ยวชาญ
คำถามที่มีคือ ผู้ใช้งานห้องสมุดทำเช่นไร เมื่อต้องการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการ แต่ไม่แน่ใจว่าควรใช้คำใดดีที่สุด? โดยปกติพวกเขาจะพยายามคาดเดาถึงคำที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเป็นการตีความเองและอาจจะเกิดความผิดพลาดได้ โชคดีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสืบค้นในปัจจุบัน ทำให้การคาดเดาเหล่านั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น และ “ผิดพลาด” น้อยลง
สิ่งนี้ถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญ เพราะในขณะที่โลกขับเคลื่อนด้วยอินเทอร์เน็ตมากขึ้น และปริมาณข้อมูลที่ห้องสมุดต้องใช้งานได้ขยายตัวแบบทวีคูณ การจัดทำดัชนีตามการตีพิมพ์ จึงต้องเสริมด้วยระบบดิจิทัลที่สามารถบอกผู้ใช้ได้ว่าพวกเขาจะสามารถไปหาทรัพยากรที่พวกเขาต้องการได้ที่ไหน แต่อย่างไรก็ตาม ระบบห้องสมุดไม่ได้ก้าวหน้าไปในระดับเดียวกับแพลตฟอร์มเชิงพาณิชย์ที่ลูกค้าคุ้นเคย ตั้งแต่ Facebook ไปจนถึง Netflix แพลตฟอร์มเหล่านี้มีคุณสมบัติต่างๆ เช่น การแท็กหรือการแสดงภาพที่ใช้งานง่าย โดยในบางครั้งเราอาจพบว่าเมื่อผู้ใช้พบกับระบบการสืบค้นห้องสมุดที่ไม่ตรงตามความคาดหวังเช่นแพลตฟอร์มเชิงพาณิชย์ที่กล่าวไป บางครั้งพวกเขาอาจมีอาการหงุดหงิด และยอมแพ้เลิกใช้งานไป
บริการการสืบค้นพบที่มีกราฟความรู้ที่ซับซ้อน- Knowledge Graph (เครือข่ายฐานข้อมูลดิจิทัลที่แท็กการเชื่อมโยงระหว่างแนวคิด หัวเรื่อง และหัวข้อ) สามารถช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจแนวคิดต่างๆ โดยไม่ขึ้นอยู่เฉพาะกับคำที่ใช้แสดง ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องรู้คำที่ “ถูกต้องที่สุด” ในการสืบค้น แต่บริการการสืบค้นสามารถช่วยคิด และตแผ่กรอบความคิดและคอนเซปต์ต่างๆสำหรับพวกเขา
กราฟความรู้ (Knowledge Graph) ขั้นสูง ยังสามารถใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการนำเสนอภาพของเรื่องที่ผู้ใช้งานกำลังค้นหา และความเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆได้ด้วย การแสดงผลแบบกราฟิกดังกล่าว สามารถช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจบริบทการค้นหาที่กว้างขึ้น และให้ความสามารถในการนำทางการค้นคว้าของพวกเขา เนื่องจากพวกเขาจะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าแนวคิดของพวกเขาสามารถต่อยอดไปได้ในทิศทางใด
EBSCO ได้ตรวจสอบผลกระทบเกี่ยวกับภาษาการสืบค้นของผู้ใช้ต่อวิธีที่พวกเขาทำวิจัย — ในที่นี้หมายถึง วิธีการที่พวกเขาใช้ คำที่พวกเขาใช้ — และ EBSCO ก็ได้พัฒนา EBSCO Discovery Service™ (EDS) ให้เป็นเครื่องมือการสืบค้นที่สามารถตอบสนองความต้องการของทุกคน ผู้ใช้ ไม่ว่าจะได้รับการฝึกอบรมเรื่อง “libraryspeak” หรือการสืบค้นในระดับภาษาต่างๆแล้วหรือไม่ พวกเขาสามารถทำการสืบค้นที่ดีพอๆ กับที่นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญทำ
สิ่งนี้เรียกว่า “การสืบค้นที่เท่าเทียม” และได้เปิดให้การสืบค้นเป็นเรื่องที่หลากหลายมากขึ้น มีจุดเชื่อมต่อข้อมูลและความหมายมากขึ้น โดย EDS เข้าใจคำในระดับภาษาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น “ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน”. EDS ก็สามารถมอบประสบการณ์ และความสำเร็จได้ในหลายขั้นตอนโดยผ่านกราฟความรู้:
- คำพ้องความหมาย และวิชาที่มีการควบคุม และถูกจับคู่เข้าด้วยกัน
- ภาษาธรรมชาติของผู้ใช้ถูกจับคู่กับแต่ละกลุ่มวิชา รวมถึงภาษาการใช้งาน และภาษาถิ่นมากกว่า 200 ภาษา
- จากนั้นหัวข้อต่างๆจะจับคู่กันด้วยความสัมพันธ์ที่ชัดเจน เช่น “type of” และ “symptom of”
ผลงานของขั้นตอนเหล่านี้จะช่วยปรับปรุงความสามารถในการขยายการสืบค้นของ EDS และได้รับการเรียกว่าเป็น “Enhanced Search Precision” (หรือ ESP). โดย ESP ยังให้ความสามารถในการสืบค้นด้วยภาพบน EDS หรือที่รู้จักในชื่อ EBSCO Concept Map -แผนที่แนวคิดที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้งาน และระหว่างหัวข้อต่างๆ ช่วยให้ผู้ใช้พบกับผลลัพธ์ที่มีความหมายมากขึ้น และการจัดกรอบบริบท รวมถึงกำหนดความลึกที่ต้องการสำรวจเนื้อหาที่กำลังค้นคว้าอยู่ได้
ผลลัพธ์ที่ได้เหล่านี้ คือประสบการณ์การสืบค้นที่มีความเท่าเทียมยิ่งขึ้น ช่วยให้ห้องสมุดสาธารณะมีส่วนร่วมกับชุมชนได้ดียิ่งขึ้น ผู้ใช้งานที่ใช้ EDS สามารถสืบค้นด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติของพวกเขา และใช้เครื่องมือภาพเพื่อนำทาง กำหนดเป้าหมายการวิจัย รวมถึงรับผลการสืบค้นที่แม่นยำได้เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกอบรมเรื่อง “libraryspeak”