Concept map หรือแผนผังแนวคิด คือการแสดงภาพหัวข้อที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยง ในคำสืบค้นและหัวข้อการสืบค้นที่ต้องการของคุณ ในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลัง Concept Maps และวิธีการที่ห้องสมุดจะนำสิ่งนี้ไปใช้ประโยชน์เพื่อปรับปรุงการวิจัย และการรู้เท่าทันข้อมูลของผู้ใช้งาน
เพื่อทำความเข้าใจว่า Concept Map คืออะไรและสามารถนำไปใช้ในการวิจัยและทักษะการรู้สารสนเทศได้อย่างไรบ้าง สิ่งสำคัญคือ เราต้องดูที่มาของมัน โดยคุณ Joseph D. Novak จาก Cornell University ผู้บุกเบิก Concept Map ได้เขียนหนังสือและบทความเกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง “Learning How to Learn” (เป็นหนังสือเล่มที่ตีพิมพ์ของเขาด้วย) ซึ่งคุณ Novak และทีมของเขาได้พัฒนาเทคนิคการทำแผนที่แนวคิดเพื่อเชื่อมโยงวิชาวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นใหม่ สำหรับนักเรียน แผนที่แนวคิดเป็นตัวอย่างที่ดีของการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงเคลื่อนไหว constructivism – ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้อย่างกระตือรือร้น โนวัคใช้แผนที่แนวคิดเป็นวิธีให้นักการศึกษาทดสอบความรู้ของผู้เรียนในทั้งก่อนและหลังการศึกษาหัวข้อ/วิชานั้น
เหตุใดที่มาของ Concept Map จึงมีความสำคัญต่อห้องสมุดและผู้ใช้
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ห้องสมุดได้รับมอบหมายให้สร้างทักษะการรู้สารสนเทศของนักเรียน และ นักศึกษา ซึ่งอันที่จริง มันได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่องค์กรห้องสมุดเช่น ACRL ทำการพัฒนา กรอบการทำงานเกี่ยวกับการรู้สารสนเทศ ซึ่งการรู้สารสนเทศ ไม่เพียงมีความสำคัญต่อห้องสมุดและการใช้ห้องสมุดเท่านั้น แต่มีประโยชน์มหาศาลสำหรับสถาบันการศึกษาด้วย สิ่งนี้ได้รับการพิสูจน์แล้ว จากการที่นักเรียนที่ใช้ห้องสมุดเพื่อการวิจัยมักจะมีเกรดเฉลี่ยดีกว่า ไม่น่าแปลกใจที่การรู้สารสนเทศ และ constructivism มีหลักการที่คล้ายกัน เมื่อพูดถึงการได้มา และใช้ความรู้ด้านการวิจัยประกอบกัน
ประการที่สอง เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างภาพข้อมูล โดยจากการศึกษาพบว่า มนุษย์ประมวลผลภาพได้เร็วกว่าข้อความถึง 60,000 เท่า. ซึ่ง Concept Map เอง ก็ผสมผสานแนวคิด "Contruction Knowledge" เข้ากับการนำเสนอหัวข้อที่เกี่ยวข้องด้วยภาพ ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดสร้างการเชื่อมต่อการวิจัย เข้ากันกับการเรียนรู้เพื่อตนเอง ตัวอย่างเช่น การค้นหาคำว่า "Italy" ให้ภาพของอิตาลีในหลากหลายแง่มุมออกมา ซึ่งแต่ละอันแสดงถึงแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับอิตาลี เช่น "Rome" "Alps" หรือ "Papal States" ข้อความเหล่านี้ช่วยเปิดประเด็น และหัวข้อเพิ่มเติมให้กับผู้ใช้งาน โดยพวกกเขายังสามารถเปิดการค้นหาใหม่ด้วยข้อความค้นหาที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว วิธีการ "เชื่อมต่อระหว่างประเด็น" นี้ช่วยให้ผู้ใช้มีข้อมูลที่ทั้งกว้างและลึกขึ้นได้โดยการขยายและเจาะประเด็นต่างๆ ไปในหัวข้อที่หวกเขาสนใจ
“คลังสมอง” ที่ซึ่งอยู่เบื้องหลัง Concept Map ใน EBSCO Discovery Service คือกราฟความรู้ ซึ่งกราฟความรู้ก็คือโครงข่ายความหมายของสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคำสืบค้น และ Concept Map ก็คือการแสดงภาพของเครือข่ายนี้ ด้วยกราฟความรู้ ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบผู้เชี่ยวชาญ แม้ว่าพวกเขาจะไม่ใช่นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญก็ตาม กราฟความรู้จะจับคู่ชุดข้อมูลใหม่ที่รวมภาษาอันเป็นธรรมชาติ คำศัพท์ในหัวข้อที่ครอบคลุม คำพ้องความหมาย และแนวคิดต่างๆมากมายในกว่า 280 ภาษา (รวมถึงภาษาถิ่น) สิ่งนี้มีประโยชน์ในหลากหลายมิติ เนื่องจากไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างการเชื่อมต่อในการวิจัยผ่าน Concept Maps แต่ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถป้อนคำค้นหาในภาษาแม่ของตนได้อีกด้วย
ทีมวิจัยผู้ใช้ และจัดการผลิตภัณฑ์ของ EBSCO ทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้าและผู้ใช้ห้องสมุดเพื่อพัฒนาคุณลักษณะ Concept Maps นี้ใน EBSCO Discovery Service และเป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า เราได้เพิ่มการปรับปรุงที่หลากหลายใน Concept Maps นี้ เช่น:
- มุมมองกริดแบบใหม่ช่วยให้เข้าถึงแผนที่แนวคิดได้ดีขึ้น และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ใช้ในการดูข้อมูลของ Concept Maps
- จากความคิดเห็นของลูกค้า เราได้แก้ไขประเภทของความสัมพันธ์ให้มีความโดดเด่นมากขึ้น นอกจากนี้ Grid View ใหม่ยังเสนอการจัดกลุ่มแนวคิดที่เกี่ยวข้องตามโดเมน
- จานสีปรับแต่งได้ที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อการเข้าถึง และการใช้งานที่ดีขึ้น
ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Concept Map ใน EBSCO Discovery Service กรุณาตัวแทน EBSCO ที่ให้บริการท่าน