วิวัฒนาการของหน้าจอผู้ใช้งาน EBSCO Discovery Service™

เข้าใช้งาน (Access) สืบค้น (Search) เลือกสรร (choose) และนำไปใช้ (Use) ขั้นตอนเหล่านี้คือเส้นทางการใช้ของผู้ใช้งานห้องสมุด จะเห็นว่าขั้นตอนของการใช้งานมีลักษณะที่คล้ายกันกับบริการเช่น Netflix, Amazon, Spotify หรือ Google และประสบการณ์การใช้งานแดชบอร์ดส่วนบุคคล ตัวเลือกการแชร์ และ ความสามารถในการแนะนำบนแพลตฟอร์มเหล่านี้เป็นตัวกำหนดความคาดหวังของผู้ใช้ โดยแทนจะสร้างสรรค์เพียงสิ่งใหม่เมื่อกล่าวถึงการอัพเกรด EBSCO Discovery Service ™ (EDS) ในเวอร์ชั่นใหม่นี้เรายังได้ผสานรวมคุณสมบัติยอดนิยมของเว็บไซต์ของธุรกิจเหล่านั้นเข้ากับฟังก์ชั่นที่จำเป็นสำหรับห้องสมุดด้วย

การเข้าใช้งาน (Access)

เริ่มต้นด้วยการเข้าใช้งาน (Access) – ซึ่งคือความสามารถในการเชื่อมต่อกับห้องสมุดได้ทุกที่ ทุกเวลา บนอุปกรณ์ต่างๆ – โดยการลงชื่อเข้าใช้งาน และ การปรับเปลี่ยนแบบรายบุคคลตามความต้องการของผู้ใช้ EDS บนพื้นฐานของการควบคุมโดยนโยบายความเป็นส่วนตัว. ด้วยเหตุนี้ EBSCO จึงสนับสนุนการลงชื่อเข้าใช้แบบ Single sign-on ผ่านโซลูชันที่สอดคล้องกับเทคโนโลยี SAML เช่น Ping, Okta และ Microsoft ADFS. โดยหากใช้งาน EDS ผู้ใช้จะพบกับลิงก์ไปสู่เนื้อหาบนแพลตฟอร์มอื่นๆ OpenAthens นำเสนอระบบการลงชื่อเข้าใช้งาน และ การปรับแต่ง “สะพาน” เพื่อเชื่อมต่อสู่เนื้อหา ในขณะที่ผู้ดูแลห้องสมุดก็สามารถที่จะบริหาร และ ควบคุมต่างๆได้เอง ในที่นี้รวมถึงสถิติการใช้งานที่มีรายละเอียดมากขึ้นอีกด้วย

โดยนอกเหนือจากการเข้าถึง แล้ว EBSCO ได้รับการรับรองว่าเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม e-book ชั้นนำจาก ASPIREverified Accessibility Audit โดยได้รับคะแนนเต็ม 100%. EBSCO มีการรักษามาตรฐานการเข้าถึงสูงสุด แล ะกำลังจะเข้าสู่การปฏิบัติตาม มาตรฐาน WCAG 2.1 AA ด้วยการเป็นหุ้นส่วนกับ The Carroll Center สำหรับคนพิการทางสายตา EBSCO จะทดสอบการเข้าถึงได้ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์โดยหลีกเลี่ยงการดัดแปลงเพิ่มเติมตามความเป็นจริง

การสืบค้น (SEARCH)

EDS เป็นมากกว่าเครื่องมือการสืบค้น โดยอาจกล่าวได้ว่าเป็นสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ซึ่งผู้ใช้สามารถรับคำแนะนำในการปรับปรุงการสืบค้น และ ค้นหารายการที่ผู้ใช้อาจมองข้ามไป สิ่งนี้ช่วยเหลือนักวิจัยมือใหม่ได้ พวกเขาไม่เพียงแต่จะสามารถสืบค้นหนังสือ และ บทความได้เท่านั้น แต่ยังได้รับความเข้าใจในคุณค่าต่างๆของห้องสมุด เมื่อทักษะการเรียนรู้สารสนเทศของพวกเขาพัฒนาขึ้น ทักษะการสืบค้นของพวกเขานั้นก็จะดีขึ้นเช่นกัน เช่นทักษะที่ดีขึ้นจะช่วยให้พวกเขาสามารถเจาะลึกสูแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับพวกเขาเช่น CINAHL หรือ Inspec

หนึ่งในกุญแจสำคัญในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้นี้คือ กราฟความรู้ของ EDS. สิ่งนี้สร้างขึ้นจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญผู้เชี่ยวชาญ โดยทำการวาดและโยงดัชนีหัวเรื่องจำนวนมากให้อยู่ในรูปแบบของกราฟเพื่อช่วยให้การสืบค้นนำไปสู่ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพ. ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใช้งานในฐานะนักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งกราฟความรู้จะช่วยจับคู่ชุดข้อมูลใหม่ที่รวมภาษาจากคำศัพท์ที่เป็นธรรมชาติ รวมถึงคำพ้อง และ คอนเซปต์ที่หลากหลายในภาษาท้องถิ่นมากกว่า 280 ภาษา สิ่งนี้ไม่เพียงปรับปรุงการจัดอันดับผลลัพธ์การสืบค้น และ ความเกี่ยวข้องสำหรับ EBSCOhost และ EDS แต่ความสามารถในการใช้ได้หลากหลายภาษานี้ ช่วยให้ผู้คนจากทั่วโลกสามารถป้อนคำค้นหา และทำการสืบค้นได้ในภาษาของตนเอง

กราฟความรู้ช่วยให้ผู้ใช้ได้เรียนรู้โดยการเจาะลึกถึงเจตนาของพวกเขา ตัวอย่างเช่นหากผู้ใช้ทำการสืบค้น “ java” EDS จะถามว่าพวกเขาหมายถึงเกาะ ภาษาโปรแกรม หรือ กาแฟ สิ่งนี้คือขั้นตอนแรกในการสืบค้นที่เท่าเทียม หมายความว่าจะไม่มีคำว่า “ถูกต้อง” สำหรับการสืบค้น แต่ผู้ใช้เองจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะใช้คำใดในการสืบค้น ตามระดับความสามารถในการวิจัย พื้นหลังหรือมุมมองของพวกเขาเอง

EDS เป็นมากกว่าเครื่องมือการสืบค้น โดยอาจกล่าวได้ว่าเป็นสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ซึ่งผู้ใช้สามารถรับคำแนะนำในการปรับปรุงการสืบค้น และ ค้นหารายการที่ผู้ใช้อาจมองข้ามไป

กราฟความรู้สามารถทำมากกว่าการจดจำความหมายหลายอย่าง โดยจะสามารถแสดงการเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ ผ่านเครื่องมือการสร้างภาพที่เรียกว่า Concept Map ตัวอย่างเช่น การสืบค้นคำว่า “Italy” ให้จะภาพของอิตาลีจากหลากหลายมุมมอง รวมทั้งแสดงถึงแนวคิดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอิตาลีเช่น “Rome” “Alps” หรือ “Papal States” สิ่งนี้เป็นการแนะนำหัวข้อเพิ่มเติมให้กับผู้ใช้ และช่วยเปิดประตูให้พวกเขาสามารถใช้งานการสืบค้นใหม่ๆที่ดีขึ้น วิธีการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดช่วยให้การรับรู้ข้อมูลดีขึ้น เนื่องจากช่วยให้ผู้ใช้สามารถเกลาทักษะการสืบค้นให้แหลมคมยิ่งขึ้นได้

เลือกสรร (choose)

เมื่อผู้ใช้ทำการสืบค้นของตนเรียบร้อยแล้ว EDS จะทำการสร้างรายการผลลัพธ์ที่ระบุได้ว่าบทความใดที่ได้รับการตรวจสอบแล้วบ้าง อีกทั้งหน้าจอการใช้งานยังมีตัวกรองที่ได้รับการปรับปรุง เช่นเดียวกับบนเว็บไซต์เชิงพาณิชย์ต่างๆ และเช่นเดียวกันกับ Facebook คุณสามารถ กด “liked” ณ ไอเท็มที่คุณชอบ และ บันทึกไว้เพื่อการรับชมในภายหลังได้. และหากผู้ใช้ต้องการขยายการสืบค้นให้ไกลกว่าสิ่งที่อยู่ในรายการผลลัพธ์ของพวกเขา เพื่อดูว่าหัวข้อการสืบค้นของพวกเขาเชื่อมต่อกับวิชาอื่น ๆ ได้อย่างไร พวกเขาก็ทำได้เพียงคลิกที่ปุ่ม concept mapเพื่อดึงความสามารถของกราฟความรู้เพิ่มเติม มาใช้

นำไปใช้ (Use) EDS ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้โดยตรงจากรายการผลลัพธ์ ด้วยความสามารถในการอ้างอิง (cite) เพิ่มรายการในproject, แบ่งปันการอ้างอิง และ ดาวน์โหลด ฟังก์ชั่นทั้งหมดนี้ทำได้โดยไม่ต้องเปิดบทความ

ด้วยโปรแกรมดู PDF ใหม่ (PDF viewer) ผู้ใช้สามารถอ้างอิง แบ่งปัน และ เพิ่มโครงการเช่นเดียวกับในรายการผลลัพธ์ โดยภายในviewer ผู้ใช้สามารถเห็นจำนวนการมีอยู่ในห้องสมุด และ ดูว่ามีชื่อเรื่องที่ต้องการนั้นๆถูกใช้อยู่หรือไม่

นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมอ่าน e-book ใหม่ ซึ่งมีตัวเลือกในการดาวน์โหลด e-book ทั้งเล่ม หรือจะเลือกแต่ละบทจากสารบัญก็ได้ แถมผู้ใช้ยังสามารถค้นหาคำศัพท์ใน viewer ได้โดยตรงอีกด้วย

สำหรับ “My Dashboard” ของ EDS นี่คือ “บ้าน” เสมือนจริงของผู้ใช้ในห้องสมุด เป็นที่ที่พวกเขาสามารถสร้างโฟลเดอร์เพื่อเก็บทรัพยากรที่ต้องการ และสามารถดูการสืบค้นจากโครงการที่พวกเขาสร้าง และ รายการที่พวกเขาชอบ EBSCO ได้เริ่มนำหน้าจอผู้ใช้งานใหม่ (UI) ให้กับลูกค้าได้ใช้ตามความพร้อมของพวกเขา โดยลูกค้าปัจจุบันจะได้รับการเข้าถึงทั้งแบบเวอร์ชันเก่า และ ใหม่ไปพร้อมกัน เพื่อทำความคุ้นเคยกับคุณสมบัติใหม่และเพื่อให้ข้อเสนอแนะกับเรา เนื่องจาก UI ใหม่เป็นการเพิ่มเติม จากกำหนดค่าโปรไฟล์ EDS เดิมทั้งนั้นไม่มีการโยกย้ายเกิดขึ้น – สิ่งนี้จะเป็นเพียงการเปลี่ยนผ่านอย่างราบรื่นสู่ลูกค้าปัจจุบัน โดยลูกค้าสามารถ “ใช้งานจริง” ด้วยอินเทอร์เฟซใหม่เมื่อรู้สึกพร้อม ในขณะที่ลูกค้าใหม่จะเริ่มต้นใช้งานด้วย UI ใหม่เลย

การเปิดตัวใหม่ (ROLLOUT)

EBSCO มีความภาคภูมิใจในหน้าจอใหม่ที่จะนำพานักวิจัยสู่การเดินทางของพวกเขาในห้องสมุด ด้วย EDS UI ใหม่ที่ทำหน้าที่เป็นแนวทาง EBSCO เรามุ่งหวังที่จะได้ร่วมมือกับห้องสมุดเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์การวิจัยที่ดี และคุ้มค่ามากขึ้นกว่าเดิม