เวลาที่ผู้คนต้องการความช่วยเหลือในด้านการตัดสินใจต่างๆ พวกเขาต้องการข้อมูล โดยไม่ว่าจะเป็นเรื่องการซ่อมแซมบ้าน การวางแผนอสังหาริมทรัพย์ หรือการสำรวจสถานที่พักผ่อน พวกเขาต้องการข้อมูลที่ถูกต้อง แต่คนส่วนใหญ่คิดว่าพวกเขาสามารถรับข้อมูลนี้ได้จากเว็บแบบเปิดต่างๆ และเมื่อตัดภาพมาที่ห้องสมุดในมุมมองของพวกเขา, พวกเขาอาจยังคิดว่าห้องสมุดมีเพียงหนังสือเท่านั้น หลายคนยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่ามีข้อมูลอยู่มากมายที่หาได้ในห้องสมุด– ไม่ใช่แค่หนังสือเท่านั้น แต่ยังรวมถึง e-book, เพลง, ฐานข้อมูล, วิดีโอ และเนื้อหาดิจิทัลทุกประเภท นอกจากนี้ พวกเขาอาจไม่รู้เช่นกันว่าห้องสมุดมีเว็บไซต์ที่อนุญาตให้เข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆทางออนไลน์ได้

และแม้ว่าคุณจะมีผู้เข้ามาใช้งานห้องสมุด (ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาที่ห้องสมุด หรือใช้งานออนไลน์) พวกเขาอาจจะยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่าจะมองหาสิ่งที่พวกเขาต้องการได้อย่างไร? ปรึกษาใคร? พวกเขาสามารถหาพวกเขาได้หรือไม่? หากพวกเขาไปที่ช่องค้นหาบนเว็บไซต์ของห้องสมุด มันจะช่วยพวกเขาไหม หรือจะถูกจำกัดให้อยู่แค่แค็ตตาล็อกของห้องสมุด หากไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสมในการนำทาง ผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าอาจพบว่าการไปยังส่วนต่างๆ ของห้องสมุดนั้นยากเกินไป น่ารำคาญเกินไป หรือใช้เวลานานเกินไป
สิ่งที่พวกเขาต้องการคือสถานที่ที่เดียว ที่ซึ่งพวกเขาสามารถค้นหานิตยสาร ฐานข้อมูล e-book และแหล่งข้อมูลทั้งหมดที่ห้องสมุดมีให้ สิ่งที่พวกเขาต้องการคือ บริการกาสืบค้นข้อมูล หรือ Discovery Service

บริการการสืบค้นข้อมูล ก็เปรียบเสมือนซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งแน่นอนว่าซุปเปอร์มาร์เก็ตแห่งนี้ เป็นทำเลที่สะดวกเพียงแห่งเดียวที่ตอบสนองความต้องการในการเลือกซื้ออาหารของคุณ ดังนั้นคุณจึงไม่ต้องไปที่ร้านค้าต่างหากเพื่อซื้อ ขนมอบ เนื้อสัตว์ ปลา และผลิตภัณฑ์นม อื่นๆ ในทำนองเดียวกัน บริการนี้จะช่วยให้ทรัพยากรของห้องสมุดทั้งหมดสามารถค้นหาได้จากช่องการสืบค้นเดียว ด้วยการตอบสนองความต้องการด้านการวิจัยของผู้ใช้งานทั้งหมด ห้องสมุดจึงไม่ต้องกังวลว่าพวกเขาจะพยายามหาทางจากแหล่งข้อมูลหนึ่งไปยังอีกแหล่งข้อมูลหนึ่ง และพบกับทางตันที่ทำให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกท้อใจ

และเพื่อทำให้กระบวนการสืบค้นง่ายขึ้น บริการการสืบค้นหรือ Discovery Service จึงเริ่มลูปการตอบรับเชิงบวก ผู้ใช้งานก็มีประสบการณ์การใช้งานห้องสมุดที่ดีขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นให้พวกเขาใช้ทรัพยากรของห้องสมุดเพิ่มขึ้น ยิ่งลูกค้าใช้บริการ Discovery มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีข้อมูลการใช้งานมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งช่วยให้ห้องสมุดตัดสินใจได้ว่าควรจัดสรรงบประมาณอย่างไรให้ดี และเหมาะสมที่สุด

การรับรู้ว่าลูกค้าคุ้นเคยกับเว็บไซต์เชิงพาณิชย์ที่ซับซ้อนมากขึ้น ไมว่าจะเพื่อการซื้อสินค้า การฟังเพลงและชมภาพยนตสตรีมมิ่ง หรือแม้แต่การค้นหาข้อมูล, หน้าจอการใช้งาน (UI) ของบริการการสืบค้น  (Discovery Service) ในห้องสมุด จึงยิ่งต้องใช้งานง่าย และสะดวกสบาย ให้เหมือนกับการค้นหาทางออนไลน์ที่ผู้คนทั่วไปใช้งาน
ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ใช้งานพิมพ์สิ่งที่พวกเขากำลังค้นหา บริการการสืบค้นสมัยใหม่จะเดาว่าคำค้นนั้นๆคืออะไร และนำเสนอตัวเลือกในกล่องแบบเลื่อนลงได้ สิ่งนี้ช่วยประหยัดเวลา และช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้คำค้นหาที่ถูกต้อง และสิ่งนั้นก็ควรที่จะสามารถตรวจจับได้เมื่อผู้ใช้งานสะกดคำค้นหาผิด และมีฟังก์ชัน Did-You-Mean ที่นำเสนอคำในเวอร์ชันที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้มุ่งหน้าได้อย่างชัดเจน และไม่หลงทางเนื่องจากการสะกดผิด 

การนำเสนอความเชื่อมโยงด้วยภาพในรูปแบบของ  Concept Map  คือการการแสดงภาพกราฟิกว่าสิ่งที่พวกเขากำลังมองหานั้นสัมพันธ์กับหัวข้อและแนวคิดอื่น ๆ อย่างไรบ้าง  สิ่งนี้ส่งเสริมความชัดเจนและในขณะเดียวกันก็ป้องกันไม่ให้ผู้ใช้หลงทางในรายการผลลัพธ์ ที่มีความยาวและให้มุมมองเฉพาะในภาพรวม 

เมื่อผู้ใช้งานเริ่มการค้นหารายการที่พวกเขาสนใจ พวกเขาควรจะสามารถบันทึกข้อกำหนดเหล่านี้ลงในแดชบอร์ดได้ แดชบอร์ดก็เหมือนตะกร้าสินค้าออนไลน์ แต่มีคุณสมบัติที่มากกว่า ผู้ใช้ไม่เพียงสามารถ "จัดเก็บ" รายการที่พวกเขาชอบ แต่พวกเขายังสามารถสร้างโครงการ และโฟลเดอร์สำหรับการวิจัยในแต่ละชิ้นงานของพวกเขา

เมื่อพิจารณาถึงบริการการสืบค้น คุณลักษณะที่กล่าวถึงข้างต้นจัดได้ว่าเป็นการสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีแก่ผู้ใช้ห้องสมุด ที่ซึ่งง่าย ให้การมีส่วนร่วม และสนับสนุนให้การใช้งานดำเนินต่อไปได้อย่างสะดวกสบาย 

 

อ่าน playbook ฟรีของเราเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการการสืบค้น หรือ Discovery Service