ในขณะที่นักศึกษาใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัยทางวิชาการ และทำรายงานที่ได้รับมอบหมายในโรงเรียน/มหาวิทยาลัย ความท้าทายหนึ่งที่สำคัญของพวกเขาคือ พวกเขาอาจหาแหล่งข้อมูลที่ต้องการไม่พบหากไม่มีเครื่องมือและตัวช่วยที่เหมาะสม ต่อไปนี้เราจะกล่าวถึงเคล็ดลับบางประการที่จะช่วยอธิบายว่าทำไมเครื่องมือวิจัยดิจิตอลในห้องสมุดของคุณจึงมีประสิทธิภาพและสามารถช่วยเหลือนักศึกษาของคุณได้
เมื่อนักศึกษาจำเป็นต้องการค้นคว้าเพื่อทำงานที่ได้รับมอบหมาย พวกเขามักจะตรงไปที่เสิร์ชเอ็นจิ้นทางอินเทอร์เน็ตที่พวกเขาชื่นชอบ เนื่องจากความคุ้นเคยและเข้าถึงได้ง่าย เช่นกันกับเมื่อพวกเขาต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเพลงที่เพิ่งปล่อยออกมาล่าสุดพวกเขาก็มักหาจากแหล่งเดียวกันนี้. การศึกษาโดย Jingjing Liu et. al. แสดงให้เห็นว่า แม้แต่นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา—ซึ่งอาจจะเป็นนักวิจัยที่มีประสบการณ์สูงสุด(ในที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่)—ก็ยังตั้งเสิร์ชเอ็นจิ้นทางอินเทอร์เน็ตเป็นตัวเลือกแรกสำหรับการทำวิจัย [1]
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเสิร์ชเอ็นจิ้นจะเป็นวิธีการที่เร็วที่สุดในการค้นหา สตาร์บัคส์สาขาที่ใกล้ที่สุด แต่สิ่งนี้อาจไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการค้นหาข้อมูลที่เชื่อถือได้ จากแหล่งที่เชื่อถือได้เสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานทางวิชาการ. โดยตามมาตรฐานเฉพาะของรัฐ และมาตรฐาน Common Core จำนวนมาก สถาบันต้องการให้นักเรียนเรียนรู้วิธีระบุ และค้นหาแหล่งข้อมูลดิจิทัลที่เชื่อถือได้ แต่กระนั้น,การวิจัยผู้ใช้ก็แสดงให้เห็นว่านักเรียน/นักศึกษา คือนักวิจัยขั้นพื้นฐานที่มีทักษะเพียงเล็กน้อย บล็อก วิกิ บทความ วิดีโอ และเว็บไซต์จำนวนมากที่พบเจอโดยเครื่องมือสืบค้นยอดนิยม อาจเป็นเรื่องยากที่จะมีข้อมูลที่เหมาะสม และมักจะทำให้นักเรียนหงุดหงิดเมื่อต้องการ “สืบค้นข้อมูลวิชาการจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ”
ต่อไปนี้คือประเด็นสำคัญบางส่วนที่จะช่วยคุณอธิบายให้นักศึกษาทราบได้ว่า ทำไมพวกเขาจึงควรระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้เว็บไซต์ที่พบผ่านเครื่องมือการสืบค้นและจะนำไปใช้ในการวิจัยทางวิชาการ:
- ข้อมูลที่พบทางออนไลน์ไม่มีมาตรฐาน ใครๆก็เขียนได้ คุณให้คะแนนความเชี่ยวชาญของใครบางคนทางออนไลน์อย่างไร?
- เนื้อหาอาจไม่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง หรืออาจตั้งใจโพสต์เพื่อเป็น “เฟคนิวส์”
- เวปไซต์ที่พบบางแห่งอาจมีข้อมูลที่ไม่เป็นกลาง หรือบทความ click-bait ที่นำไปสู่ไซต์ที่ต้องชำระเงิน
- ผู้สนับสนุนบางรายจ่ายเงินเพื่อให้มีการเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ แม้แต่ในเว็บไซต์ที่ดูเหมือนน่าเชื่อถือ
- เว็บไซต์อาจไม่ได้รับการอัปเดต ซึ่งหมายความว่ารายละเอียด และเนื้อหาอาจไม่เป็นปัจจุบัน
- ไม่ใช่นักวิชาการ หรือมืออาชีพในด้านนั้นๆ ที่เป็นผู้แบ่งปันข้อมูล (ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีการควบคุม) ซึ่งทุกคนสามารถโพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ
นอกจากนี้เรายังสามารถให้ความรู้แก่นักศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของความน่าเชื่อถือ และวิธีระบุแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ต่อไปนี้คือรายการคำถามที่นักเรียนควรถามเมื่อประเมินแหล่งข้อมูลทางดิจิตอล
- บทความนั้นๆมีชื่อผู้เขียนและตำแหน่ง รวมถึงสถาบัน หรือระดับทักษะแจ้งหรือไม่?
- เนื้อหามีชื่อผู้จัดพิมพ์ และ/หรือข้อมูลติดต่อที่เชื่อถือได้หรือไม่?
- ในบทความมีวันที่หรือไม่? หรือมีข้อมูลเกี่ยวกับเวลาที่อัพเดตล่าสุดหรือไม่?
- เนื้อหานั้นเกี่ยวข้องกับห้องสมุด หรือสถาบันของคุณหรือไม่?
- เนื้อหาระบุว่ามีการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ หรือมีการอ้างอิงหรือไม่?
- ข้อความมีการจัดการที่ดี มีความเป็นมืออาชีพ และเหมาะสมกับความต้องการในด้านการวิจัยของคุณหรือไม่?
- ข้อความดังกล่าวบ่งบอกถึงความไม่เป็นกลางของผู้เขียนที่อาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลหรือไม่?
- เว็บไซต์มีลิงค์ไปยังหน้าเกี่ยวข้อง/โฮมเพจ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้จัดพิมพ์หรือไม่?
- เว็บไซต์ระบุส่วนได้เสียทางการเงิน (เช่น ผู้สนับสนุน) ที่จะนำไปสู่การเผยแพร่ข้อมูลจากมุมมองที่จำกัดหรือไม่?
คุณสามารถส่งเสริมให้นักเรียนของคุณดำเนินการวิจัยโดยใช้ทรัพยากรของห้องสมุดเป็นหลัก และใช้ประโยชน์จากเครื่องมือเว็บไซต์ห้องสมุดของ EBSCO ซึ่งก็คือคือ Stacks เพื่อให้พวกเขาสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และอยู่ในการถือครองห้องสมุดของคุณ. ด้วย Stacks นักศึกษาสามารถเข้าถึงเนื้อหาดิจิตอลจากทั้งที่สถาบันและที่บ้าน ซึ่งหมายความว่าพวกเขาสามารถใช้ทรัพยากรห้องสมุดอันมีค่าเพื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ทุกที่ทุกเวลา สิ่งพิมพ์ และคอลเลกชันดิจิตอลทั้งหมดสามารถสืบค้นได้โดยใช้ช่องค้นหาช่องเดียว ช่วยจำกัดความยุ่งยากในการกรองเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือออก
Stacks คือระบบจัดการเนื้อหาบนเว็บ (CMS) ที่ให้ทุกสิ่งที่คุณต้องการเพื่อสร้างและจัดการประสบการณ์การวิจัยทางดิจิตอลของผู้ใช้ สิ่งนี้จะช่วยให้ผู้ใช้รู้สึกมั่นใจ ด้วยคุณสมบัติ และเทคโนโลยีชั้นยอด รวมถึงการผสานรวมกับ EBSCO Discovery Service™
[1] 70 percent of search tasks assigned to a group of college students were conducted on internet sources as opposed to library sources. Even tasks classified as academic, scholarly and requiring an advanced knowledge base were still mainly conducted on internet search engines (48 internet, 29 library resources consulted). For more information and references to other studies with similar findings, see: Liu et. Al., 2018. Search systems and their features: What college students use to find and save information. Library & Information Science Research, Vol. 40, no. 2: 118-124.